มหากาพย์แห่งการเริ่มทำยูทูป

พักนี้กลับมาทำยูทูบอย่างจริงจัง เพราะเคยสนใจทำยูทูบ มานานมากแล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จสักที เพราะทำ ๆ หยุด ๆ ไม่พัฒนา

จริง ๆ แล้ว ผมทำยูทูบมาตั้งแต่ไม่เข้าไทย 10+ ปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคลิปลูกสาว กับคลิปไอที ก๊อกแก๊ก แถมมีรายได้กับมันด้วยนะ แต่ไม่มากมาย เพราะตอนนั้นยังไม่มีกฏใดๆ ใครลงคลิปก็สามารถทำเงินกับคลิปได้ ขอแค่มีบัญชี Adsense

ปีที่แล้วก็ได้มีโอกาสรู้จักกลุ่มในเฟสบุ๊คจนในที่สุดก็ไปสิงอยู่ในกลุ่มทำยูทูบ ที่มีชื่อว่า ทีมแสนซับ ซึ่งบรรยากาศมันเหมือนกับเราได้กลับเข้าไปเจออะไรที่แปลกใหม่ จนได้ไปงานมิตติ้ง

ทำให้มีความคิดอยากจะกลับมาทำยูทูบอีกครั้ง (เมื่อปีที่แล้วอะนะ)

จนแล้วจนรอด ป่านนี้ก็ยังไม่ได้ทำจริงจัง

พักนี้มีทั้งโควิด งานสอนของผมก็แทบจะหายไปทั้งหมด ผมจึงเอาเวลาบางส่วนมาศึกษาการทำยูทูบ ทั้งซื้อหนังสือ ลองคอร์ส กลั่นออกมาเป็นบทความนี้ว่าเราควรที่จะทำอะไรบ้าง ถือเป็นการย่อความจากสิ่งที่ผมเรียนมา หล่ะกันนะครับ

เริ่มทำช่องยูทูบควรคำนึงถึงอะไร

แรกสุดเลยที่เราต้องคิดก็คือ Target Audience หรือก็คือกลุ่มเป้าหมายของเราครับ
นึกให้ออกว่าคนดูของเรา

  • คือใคร?
  • เขาแคร์อะไร?
  • เขามีความเชื่อแบบไหน?
  • อะไรคือคุณค่าหลักของพวกเขา?

แล้วก็ทำการแยกย่อยลงไปถึง ลักษณะทางประชากรอย่างคร่าวๆ เช่น ช่วงอายุ เพศ การศึกษา พฤติกรรมที่คล้ายกัน ทำให้เรามองออกว่าคนดูของเราต้องการอะไร เสพสื่อต่าง ๆ แบบไหน เราจะได้สร้างช่องที่ตอบสนองต่อเขาเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด

ถัดจากนั้นก็ให้คิดถึงปัญหาที่พวกเขาเจออยู่ แล้วเราก็ทำคลิปออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้พวกเขา หาให้เจอว่าคนดูต้องการอะไรกันแน่ เพราะทุกคนที่เข้ามาดูคลิปเรามีความต้องการเสมอ ถ้าไม่ได้ตามที่เขาต้องการ เขารู้สึกว่าเสียเวลา เขาก็แค่กดออกไปดูช่องอื่น เนื้อหาอื่น เท่านั้นเอง

การแต่งช่องยูทูบ

ในการทำยูทูบเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเราต้องทำนั่นก็คือ แต่งช่องยูทูบของเรานั่นเอง

Header คือรูปแรกที่คนดูของเราจะเจอ ถ้าหากเข้ามายังช่องของเรา ดังนั้นควรที่จะรอบรับทุกอุปกรณ์ สื่อให้ชัดเจนถึงช่องของเราว่าเป็นเรื่องอะไร ถ้าจะให้แนะนำ เดี๋ยวนี้มีการออกแบบฟรีใน canva เยอะแยะเลย คนไหนยังไม่มีไอเดีย สามารถเข้าไปดูไปทำกันได้ครับ

ชื่อช่อง ก็ควรมีเอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย หรือสื่อถึงสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

รูปช่อง (icon) ก็มีส่วนสำคัญในการจดจำช่องของคุณ ควรเลือกแบบที่เห็นแล้วคิดถึงคุณได้ทันที

Channel trailer – ส่วนนี้เราจะสามารถเอาคลิปมาใส่เพื่อแนะนำตัว หรืออยากให้คลิปไหนเล่นอัตโนมัติเมื่อมีคนเข้ามาช่องของเรา สามารถแยกได้ 2 แบบคือคนที่กดซับเราแล้ว กับคนที่ยังไม่ได้กดซับ เหมาะสำหรับแนะนำตัว ให้เขารู้จักเราคร่าวๆ หรือดันให้บางคลิปมีคนมองเห็นมากขึ้น

Playlist ก็คือเพลยลิตส์ไว้รวมคลิปของเราหรือคนอื่นไว้ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อมีคนกดเล่น เขาจะได้เห็นคลิปตามลำดับในของเพลยลิตส์ที่เราสร้าง เหมาะสำหรับให้คนดูคอนเท้นอย่างต่อเนื่อง

ปกคลิป เป็นสิ่งที่เราควรจะให้ความสำคัญอย่างมาก โดยในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วคนเข้าดูด้วยมือถือ เราจึงต้องทำปกคลิปให้น่าดึงดูด ตัวหนังสือใหญ่ อ่านออก และสีสันที่มันชัดเจน

About page เป็นหน้าหลังสุดของช่อง เราควรใส่วันเวลาที่เราจะอัพคลิป ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าของช่องเช่น เมล์ เบอร์ และยังเอาไว้ใส่รายละเอียดต่าง ๆ เพื่อบอกว่าช่องนี้เกี่ยวกับอะไร

การทำคลิปยูทูบ

สิ่งที่เราควรสนใจมีอยู่ 2 อย่างคือ

  • คอนเท้น หรือ เนื้อหาของคลิป
  • Metadata หรือข้อมูลอื่น เช่น tag, การตั้งชื่อคลิป, การใส่รายละเอียดคลิป

หลักแล้ว เมื่อเราอัพคลิปลงไปบนยูทูบ ก็จะเกิดการมองเห็น ผ่านการแจ้งเตือน (หากคนนั้นติดตามและกดกระดิ่ง) เห็นผ่านหน้ายูทูป เห็นผ่านการแชร์บนโซเชียลต่างๆ

การจะทำให้คนคลิกเข้ามาดูคลิปของเรานั้น สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญก็คือ ปกที่ดึงดูด และชื่อคลิป

เมื่อคลิกแล้ว เขาเหล่านั้นก็จะดูคลิปของเรา เมื่อชอบก็จะเกิด engagement ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกดไลค์ การคอมเม้น การแชร์ การกดติดตาม

ในแต่ละส่วนจึงสำคัญไม่แพ้กัน การจะทำให้คลิปตรงใจคนดู ควรมีหลักดังนี้

  • นำ hook หรือสิ่งที่น่าสนใจ มาไว้ช่วงแรกของคลิป เพื่อสร้างความอยากรู้ อารมณ์ร่วม
  • ถัดจากนั้นใส่ intro ไม่ต้องยาวมาก แค่ให้รู้ว่าช่องเราเป็นช่องเกี่ยวกับอะไร
  • ดำเนินเรื่อง ตามที่เราคิดไว้ จนจบคลิป
  • คลิปที่ดีควรมี retention ไม่น้อยกว่า 50% (คนที่กดเข้ามาดูไม่ออกจากคลิปไปเกินครึ่ง)
  • มี Call to Action ให้คนดูทำในสิ่งที่เราต้องการ เช่น กดติดตาม กดกระดิ่ง คลิกลิงค์ต่างๆ

นอกจากนี้เราก็ควรที่จะมี End Card ไว้เพื่อให้คนดูได้คลิกไปยังคลิปอื่นของเรา หรือกดลิงค์ที่เราต้องการ

โดยเฉลี่ยแล้ว เราควรที่จะทำคลิปออกมาเพื่อหาคนดูใหม่ๆ สลับกับคลิปที่สื่อสารกับคนที่เป็นแฟนคลับเราแล้ว ซึ่งเนื้อหาทั้ง 2 แบบนี้จะไม่เหมือนกัน เพราะคนใหม่ยังไม่รู้จักว่าช่องเราเป็นแบบไหนอย่างไร จึงควรเน้นไปในทางชักจูงให้เขาดูเนื้อหาของเราให้มากขึ้น

กลับกัน สำหรับคนที่คุ้นเคย เป็นฐานแฟนของเราแล้ว ในส่วนนี้เราควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาต้องการให้มากที่สุด ทำให้เกิด engagement มากที่สุด

อีกแบบหนึ่งที่บางช่องอาจจะมี บางช่องอาจจะไม่มี นั้นก็คือ คอนเท้นเพื่อการขาย ไม่ว่าจะขายอะไรก็แล้วแต่ ในส่วนนี้จะเน้นไปที่การทำให้ผู้ชมออกจากยูทูบเพื่อไปซื้อ หรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการ แล้วเรามีรายได้กลับมา คลิปแบบนี้ไม่ควรมีมากเกินไป

อัตราส่วนอาจจะเป็นประมาณนี้ ใน 5 คลิป

  • คลิปสำหรับผู้ชมใหม่ 2 คลิป
  • คลิปสำหรับแฟนคลับเดิม 2 คลิป
  • คลิปงานขาย 1 คลิป

ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราควรที่จะเรียนรู้ในการทำยูทูบ ผมเขียนแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ๆ ประมาณนี้

คุณภาพ ปะทะ ปริมาณ

จะให้พูดง่าย ๆ ในส่วนนี้ การทำคลิปแบบคุณภาพจะทำให้ช่องเขาเราเติบโตขึ้น แต่ การเน้นปริมาณ ก็จะทำให้เราได้เรียนรู้การทำคลิปได้ไวขึ้นเช่นกัน

ลองเทียบกัน บางช่องอาจจะทำคลิปไม่เยอะ แต่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ รับรองได้ว่าคนดูก็จะหลั่งไหลกันเข้ามาไม่ขาดสาย กับอีกช่องที่เน้น ปริมาณ อาจจะไม่มีคุณภาพ อาจจะไม่เพอร์เฟค แต่เมื่อเราทำมันบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ มันก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ประกอบกับมีคอนเท้นมากมายในช่อง

สุดท้ายแล้วเราที่เป็นคนทำช่อง ต้องเลือกเองว่า ปริมาณ คุณภาพ แบบไหนที่เราสะดวก พอใจ เรามากที่สุด

การ Collab

การคอแลปคือการที่เราจับมือกับช่องอื่นสร้างคอนเท้นขึ้นมา แล้วนำมาลงในแต่ละช่อง แบบนี้จะทำให้ฐานแฟนของแต่ละช่องเกิดการไหลไปมาหากัน เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะได้มาซึ่งฐานแฟนที่มากขึ้น


สรุป

ในการทำยูทูบให้ประสบความสำเร็จนั้น มีสิ่งต่าง ๆ ให้เรียนรู้อีกเยอะมาก บทความนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้มาเท่านั้น การที่เรารู้ แต่ไม่ลงมือทำ ย่อมไม่ได้ผลลัพธ์ใดๆ

ระหว่างที่เขียนบทความนี้ ผมก็เริ่มทำช่องที่มีชื่อว่า NPJLife เรื่องออนไลน์และไอที เพื่อลองผิดลองถูกไปเรื่อย ฝากให้กำลังใจผมหน่อยนะครับ

ปล. หากใครเป็นมือใหม่ กำลังหัดทำยูทูบแบบผม ผมมีหนังสือดี ที่คอยเป็นไกด์ไลน์ในการทำเริ่มทำช่องยูทูบ ด้วยประสบการณ์จริงการสร้างช่องที่มีผู้ติดตามหลักล้านคน นั่นก็คือ

หนังสืออีบุ๊ค ” Youtube 101 “

สนใจสามารถสั่งซื้อกันได้ที่ YoutubeStartup พร้อมแจ้งตอนสั่งซื้อว่า “NPJLife” จะได้หนังสือเล่ม พร้อมคลิปโบนัส แถมให้ฟรี

ขอบคุณครับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *